Image from Google |
พญานาคราช หรือพญานาค เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเรียกชื่อต่างๆ กัน
แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่
ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย
ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ
นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ
ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล
และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่
ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป
แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง
เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ
หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว
แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจากพญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช)
ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร
อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ
พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่
มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม
Image from Google |
พญานาค เป็นราชาแห่งงู
จัดเป็นเดรัจฉานด้วย เพราะมีลำตัวไปทางขวางและไม่สามารถบรรลุธรรมได้
แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา นาคแบ่ง ออกเป็น 4
ตระกูลใหญ่ คือ
Image from Google |
ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
ตระกูลฉัพพยาปุตตะ
พญานาคตระกูลสีรุ้ง
ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ
พญานาคเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ
แบบโอปปาติกะเกิดแล้วโตทันที แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม
แบบชลาพุชะเกิดจากครรภ์ แบบอัณฑชะเกิดจากฟองไข่ พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ
เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ
จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกพญานาคอยู่ ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์
ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก
เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะ
พิษแห่งนาค
1.ปูติมุขะ เป็นนาคมีพิษ ถ้ากัดผู้ใดแล้วรอยแผลจะเปื่อยเน่า
นำเหลืองไหล ถ้าไม่มียารักษาจะถึงแก่ความตายในเวลารวดเร็ว
2.กฎฐะมุขะ เป็นนาคมีพิษ ถ้ากัดผู้ใดแล้วร่างกายเหยื่อจะแข็งทื่อไปทั้งตัว
แขนขางอไม่ได้ และจะปวดอย่างแสนสาหัส และตายอย่างรวดเร็ว
3.อัคคิมุขะ เป็นนาคมีพิษ ถ้ากัดผู้ใดแล้วจะเกิดอาการเร่าร้อนไปทั้งตัวดุจไฟเผา
แผลจะมีลักษณะคล้ายถูกไฟไหม้
4.สัตถะมุขะ เป็นนาคมีพิษ ถ้ากัดผู้ใดแล้วจะตายทันทีเหมือนถูกฟ้าผ่า
พญานาคสี่ประเภทนี้สามารถทำอันตรายได้อีกอย่างละ 4 วิธี คือ
1.ทัฏฐะวิสาพญานาค เมื่อขบกัดแล้วจะเกิดพิษซ่านไปทั่วร่างกาย
2.ทิฏฐะวิสะพญานาค ใช้วิธีมองแล้วพ่นพิษออกทางตา
3.ผุฏฐะวิสะพญานาค ใช้ลมหายใจพ่นเป็นพิษแผ่ซ่าน
4.วาตาวิสะพญานาค มีพิษที่กาย
จะแผ่พิษจากตัว
รวมว่ามีวิธีทำอันตรายได้ 16 วิธี
แต่ใน 16 วิธีนี้ยังมีแบ่งภาคออกไปอีก 4 วิธี คือ
1.อาตตะวิสนะโฆระวิสะ มีพิษแผ่ซ่านออกไปอย่างรวดเร็วแต่ไม่รุนแรง
2.โฆระวิสนะอาคตะวิสะ มีพิษรุนแรงมาก แต่พิษนั้นแผ่ออกไปช้าๆ
3.อาคตวิสนะโฆระวิสะ มีพิษแผ่ซ่านไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก
4.นะอาควิสนะโฆระวิสะ มีพิษแผ่ช้าๆและไม่รุนแรง
รวมแล้วเป็นพญานาคทั้งหมด 256 ชนิด
ในแต่ละชนิดยังแบ่งออกเป็นสองพวก คือ
1.ชลชะพญานาค เป็นนาคที่เกิดในน้ำ
2.ถลชะพญานาค เป็นนาคที่เกิดบนบก
สรุปนาค มี 1,024 ชนิด
Image from Google (Tadatada) |
พญาอนันตนาคราช ( มหานาคะ มหานาคี เทวีนาคกลัยาณี มหานาคะ เทวา ชะยะ เตตี เตติ) พาหนะคู่บารมีของพระนารายณ์
คำว่าอนันตะมีความหมายว่า อนันต์ ไร้จุดจบ
มีความยาวมากถึงขนาดว่าสามารถพันรอบโลกได้แต่เดิมพญานาคราชมีพระนามเดิมว่า พญาเศษะ
นาคราช ทรงเป็นโอรสองค์แรกของพระกัศยปะ และ นางกัทรุ พญาอนันตนาคราช
เป็นใหญ่ในเมืองบาดาลเป็นราชาแห่งนาคทั้งปวงในเกษียรสมุทรและได้ตามเสด็จพระนารยณ์เสมอ
ราชาแห่งนาคทั้งมวลในตำนวนของฮินดู
อนันตเศษ (อะ-นัน-ตะ-เส-สะ) หรือ อนันตนาคราช มีขนาดตัวเป็นอนันต์สมชื่อ
เพราะเป็นผู้นอนอยู่ในเกษียรสมุทรและให้พระนารายณ์นอนบนหลัง
บางตำนานเล่าว่าดาวนพเคราะห์นั้นก็ตั้งอยู่บนพังพานของอนันตนาคราช
ส่วนหัวซึ่งมีตั้งแต่ห้าหัวถึงหนึ่งพันนั้นไม่พ่นพิษเหมือนนาคอื่นๆแต่เป็น เปลวไฟ
และอนันตนาคราชก็จะร้องเพลงสรรเสิญบารมีของพระนารายณ์เป็นนิจ ในตำนานเล่าว่าตอนที่เหล่านาคเล่นโกง
ที่แม่ไปพนันกับนางวินตาซึ่งเป็นแม่ของพญาครุฑ (ทั้งคู่พนันสีม้าของพระอาทิตย์
เหล่านาคนั้นพ่นพิษใส่จนหางของม้าพระอาทิตย์เป็นสีดำ
บ้างก็ว่าเหล่านาคตัวเล็กๆได้เลื้อยเข้าไปแทรกในขนสีขาวจนดูสีดำเป็นหย่อม)
อนันตเศษนั้นรังเกียจบรรดาน้องๆเลยหนีไปจำศีลอยู่ตัวเดียว
เวลาผ่านไปพระพรหมก็มาเจอเข้า เมื่อทราบว่าอนันตเศษไม่ชอบใจที่น้องโกงพนันเลยให้ไปนอนในเกษียรสมุทรเป็น
เตียงให้พระนารายณ์ คำสาปที่ทำให้ครุฑจับนาคกินได้จึงไม่รวมถึงอนันตเศษด้วยImage from Google |
ตำนานที่ดุเดือดของอนัตเศษที่สุดนั้นกล่าวว่าครั้งหนึ่งอนันตเศษเคยโผล่หัว
ขึ้นไปบนสวรรค์ (ไม่ใช่มุข เพราะตัวยาวจนไม่ต้องขึ้นไปทั้งตัว)
และโอ้อวดกับเหล่าเทวดาว่า ในสามโลกนี้มีแต่ตรีมูรติเท่านั้นที่มีอำนาจเหนือตน
หากใครไม่เชื่อแล้วก็จงมาประลองกำลังกันเถิด เหล่าเทวดากลัวหัวหด
มีแต่พระพายที่กล้าพอ คิดว่าอย่างไรนาคตัวนี้ก็เป็นแค่ดิรัจฉาน
การจะมาท้าตีท้าต่อยกับเทวดาจึงนับว่าโอหังนัก พระพายรับคำท้าว่าแล้วพญาอนันตนาคราชก็เอาตัวเองพันรอบภูเขาลูกหนึ่งไว้
บอกว่าให้พระพายลองทำลายภูเขานี้ดู
พระพายนั้นใช้กำลังสร้างพายุรุนแรงหมายจะพัดทำลายภูเขานั้นให้ยับเยิน
แต่อนันตเศษก็ขยายตัวเองให้ใหญ่ขึ้นแล้วแผ่พังพานป้องไว้ได้ทุกครั้ง
สุดท้ายพระพายจึงทุ่มกำลังทั้งหมดเข้าโจมตีโดยดึงเอาลมในตัวสัตว์โลกทั้งมวล
มาใช้ด้วย แต่ก็ถูกอนันตเศษกลืนเข้าไปทั้งตัว ทีนี้เมื่อไม่มีพระพายแล้ว
สัตว์โลกทั้งหลายก็หายใจไม่ออก
ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องมาบอกเตียงหลังโปรดให้คายพระพายออกมา อนัตนาคราชทำตาม
ปรากฏว่าตอนที่อนันตนาคราชคายพระพายมานั้นก็บังเกิดเป็นลมรุนแรงพัดไปโดน ภูเขาที่พันไว้จนราบเป็นหน้ากลอง
ทั้งพระพายและอนันตนาคราชต่างก็นับถือในกำลังของกันและกัน
เลยตกลงว่าการประลองครั้งนี้เป็นเสมอ บางที่ที่ค้นเจอ
ยกบทนาคที่พันเขาพระสุเมรุไว้ตอนกวนเกษียรสมุทรให้อนันตนาคราชด้วย แต่จริงๆแล้วนาคที่รับบทนี้ก็ คือ
พญาวาสุกี
Image from Google |
องค์นาคาธิบดีทั้ง 9 พระองค์
(แต่ละเศียร) มีพระนามดังต่อไปนี้
1.พญาอนันตนาคราช
2.พญามุจลินท์นาคราช
3.พญาภุชงค์นาคราช
4.พญาศรีสุทโธนาคราช
5.พญาศรีสัตตนาคราช
6.พญาเพชรภัทรนาคราชหรือพญาเกล็ดแก้วนาคราช
7.พญานาคดำแสนศิริจันทรานาคราช
8.พญายัสมันนาคราช
9.พญาครรตระศรีเทวานาคราช
Image from Google |
ชาวฮินดูถือว่า
นาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช
ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์ ที่เชื่อว่า นาค
เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ 1 ตัว แปลว่า น้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา ถ้าปีไหนนาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อย ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์
เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้
Image from Google |
นาคมีคุณสมบัติพิเศษ คือ
สามารถแปลงกายได้ มีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคน สามารถแปลงเป็นคนได้
เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง
กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า
เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ
จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น นาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5
จะต้องปรากฏรูปลักษณ์เป็นนาคเช่นเดิม คือ ขณะเกิด, ขณะลอกคราบ, ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับโดยไม่มีสติ และตอนตาย
ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
Image from www.tanes.net |
นาค มีพิษร้าย
สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู
แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก, มด ฯลฯ มีพิษได้
ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก
พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ
จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
นาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล
คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก
ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า
ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร
มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อนๆกัน
ชั้นสูงๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
นาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วสมสู่กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู
มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลกจนถึงสวรรค์
ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์
ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้นๆ
Image from Google |
พญานาคกับตำนานในพระพุทธศาสนา เมื่อ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ
เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ
ไปยังร่มไม้จิกชื่อ "มุจลินท์" ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน
คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน
ได้มีพญานาคชื่อมุจลินทร์ เข้ามาวงด้วยขด 7
รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก
แปลงเพศเป็นชายหนุ่มยืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า
Image from Google |
ความเชื่อดังกล่าวทำให้เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์
เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา
ความเชื่อของชาวฮินดู ก็ถือว่า
นาคเป็นสะพานเชื่อมภาวะปกติ กับที่สถิตของเทพ ทางเดินสู่วิษณุโลก เช่น
ปราสาทนครวัด จึงทำเป็น พญานาคราช ที่ทอดยาวรับมนุษย์ตัวเล็ก ๆ
สู่โลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์ หรือบั้งไฟของชาวอีสานที่ทำกันในงานประเพณีเดือนหก
ก็ยังทำเป็นลวดลาย และเป็นรูปพญานาค
พญานาคนั้นจะถูกส่งไปบอกแถนบนฟ้าให้ปล่อยฝนลงมา
Image from Google |
ในสมัยพระพุทธเจ้า
มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา
จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า
ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน
นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค
ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน
ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉาน
ไม่ว่าจะเป็นนาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด
และก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม
หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน ในจำนวน
8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า"
และจึงเรียกการบวชนี้ว่า "บวชนาค"
คาถาอัญเชิญพญานาค (ตั้งนะโม 3 จบ)
นะมามิ ลิละ สาเข ปัตถะ ละปะ ธัมเม สะคะลับตี สะเยตานาคะ ลาเชนะยะ
ปิสะโตฯ
พระคาถาถวายการสักการะบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)
เอหิสังคัง ปิโยนาคะ สุปันนานัง มะยัง
หรือ
กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา
(ชื่อพระนามอย่างเช่น องค์ วาสุกรีนาคราช,อนันตนาคราช,ภุชงค์นาคราช,นาคาธิบดีศรีสุทโธ,) วิสุทธิเทวาปูเชมิ
ถ้าเป็นองค์นางพญานาคี ก็เปลี่ยนเป็น นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ (เช่น
กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา วาสุกรีนาคราช วิสุทธิเทวาปูเชมิ) เป็นต้น
คาถาบูชาพญานาคราชอีกบทหนึ่ง (ตั้งนะโม 3 จบ)
นาคเทวะ ปรี ตา ภวันติหะ คานติมาปโนติ เวน วิภี สัมศานติ โลก มา สาทยะ
โมทเต ศาศติช สมาช
หรือกล่าวย่อ คือ (คัด สะ มะ อุ มะ) 9 จบ
คาถาบูชาพญานาค (คาถานี้ได้มาจากเสด็จปู่ยมโลก) ตั้ง นะโม 3 จบ
นะติตัง พญามะ นาคายะ อภินัง นาคา สาธุโนภันเต ยะมะ ยะมะ
Image from Google กรณ์มงคล KunTum Korntaekhong |
ขอบคุณที่เผยแพร่ให้ได้รับทราบค่ะ
ตอบลบสุดยอด
ตอบลบขอบคุณข้อมูลค่ะ หนูเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก และเรื่องพญานาคหนูก็เชื่อว่ามีจริง แม้จะมีข่าวมากมายว่าเจอปลาที่คล้ายพญานาค ซึ่งหนูคิดว่าไม่ใช่พญานาคแต่เป็นปลาชนิดหนึ่ง เหมือนลิงที่คล้ายคนประมาณนั้น และข่าวรอยพยานาคที่ไม่รู้ว่าจริงหรือทำขึ้นมานั้นหนูเชื่อในสองแง่ ว่าบางคนอาจทำขึ้นมาก็ได้ หรืออาจจริงก็ได้ ไม่มีใครรู้ เวลามีข่าวว่าพญานาคปลอมบ้าง ก็ไม่ได้แปลว่าพญานาคไม่มีจริง เวลาหนูดูข่าวต่างๆ ไม่ได้แปลว่าหนูเชื่อหมดว่าทุกคลิปทุกข่าวต้องเป็นพญานาค อาจจะมีทั้งใช่หรือไม่ใช่ แต่โดยส่วนตัวหนูเชื่อมั่นมากว่าพญานาคมีจริง และคนมีบุญหรือนักปฏิบัติเท่านั้นที่จะเห็น
ตอบลบความรู้ดีๆนี่เองค่ะ
ตอบลบพอจะมีใครสามารถตอบคำถามเราได้บ้างใหมค่ะ
ตอบลบพอดีเราอยากทราบภาษานาคราชค่ะ
อาจจะไม่มีนะคะเพราะเราอยู่คนละภพชาติกันกับพญานาคคะ
ลบขอบคุณสำหรับข้อมูลชัดเจนไม่สับสนเหมือนเวบอื่นค่ะ
ตอบลบพญามุจลินท์นาคราช มีพี่น้อง ลูกชาย ลูกสาว หรือพระบิดา พระมารดา พระนามว่าอะไรหรอครับ หาข้อมูลไม่เจอเลย
ตอบลบพอดีอยากทราบข้อมูลเชิงลึกน่ะครับ
แล้วพระเศียรตรงกลาง ที่7 มีนามว่าอะไรครับ
เท่าที่ทราบท่านไม่มีภรรยานะคะ ท่าารักษาศีลและไม่เสพสมค่ะ
ลบพญามุจลินท์นาคราช มีญาติ นามว่า ท่านนันโทปนันทะนาคราช และพญาศรีสัตตนาคราช ครับ
ลบขอบคุณมากครับผม
ตอบลบสาธุคับ
ตอบลบขอบคุณนะขอบคุณค้นหาข้อมูลประวัติจนกระทั่งพบ
ตอบลบ