Image from Google |
พระแม่ธรณี
พระแม่ธรณี หรือ แม่พระธรณี หรือ พระศรีวสุนธรา เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์, ฮินดู และพุทธศาสนา "พระแม่ธรณี" เป็นเทพมารดาแห่งโลก เพราะเป็นผู้ที่มีคุณต่อสรรพชีวิตบนโลก ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า "ธรณิธริตริ" แปลว่า "ผู้ค้ำจุนพระธรณี" แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้
Image from Google |
พระธรณีเป็นเทพมารดาแห่งโลก เพราะเป็นผู้ที่มีคุณต่อสรรพชีวิตบนโลกนี้ที่ต้องอาศัยคุณของแม่พระธรณี ในศาสตร์ทางจิตเกือบทั่วทุกมุมโลกล้วนคำนึงถึงพลังจากปฐพีนี้เสมอมา แม้ในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยหลักการและเหตุผลก็ยังกล่าวอ้างถึงดังปรากฏในปฐมสัมโพธิญาณ ตอนพระสิทธัตถะบำเพ็ญจิตเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ แล้วถูกพญามารตามผจญก็อธิษฐานแม่พระธรณีเป็นพยานในบุญบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาเอนกชาติจนชนะหมู่มารในที่สุดคุณแม่พระธรณีในทางพระเวทจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสูงสุดของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ
เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ
ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมพญามารที่รังควานสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้ ดั่งรายละเอียดตามพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสว่า
Image from Google |
“แต่ในชาติอาตมะเป็นพระยาเวสสันดรชาติเดียวนั้น ก็ได้บำเพ็ญทานบารมีถึงบริจาคนางมัทรีเป็นอวสาน พื้นพสุธาก็กัมปนาการถึง 7 ครั้ง แลกาลบัดนี้ อาตมะนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์อาสน์ หมู่มารอริราชมาแวดล้อมยุทธการเป็นไฉนแผ่นพสุธาธารจึงดุษณีภาพอยู่ฉะนี้ แลพระยามารอ้างบริษัทแห่งตนให้เป็นกฎสักขีขานคำมุสา แลพื้นปฐพีอันปราศจากเจตนาได้สดับคำอาตมะในครั้งนี้จงรับเป็นสักขีพยานแห่งข้า แล้วเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาอันประดับด้วยจักรลักษณะอันงามดุจงวงไอยรารุ่งเรืองด้วยพระนขามีพรรณอันแดงดุจแก้วประพาฬออกจากห้องแห่งจีวร ครุวนาดุจวิชุลดาในอัมพรอันออกจากระหว่างห้องแห่งรัตวลาหก ยกพระดัชนีชี้เฉพาะพื้นมหินทรา จึงออกพระวาจาประกาศแก่นางพระธรณีว่า ดูก่อนวนิดาดลนารี ตั้งแต่อาตมะบำเพ็ญพระสมภารบารมีมาตราบเท่าถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรราช ได้เสียสละบุตรทานบริจาคแลสัตตสดกมหาทานสมณะพราหมณาจารย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะกระทำเป็นสักขีพยานในที่นี้ก็มิได้ มีแต่พสุนธารนารีนี้แลรู้เห็นเป็นพยานอันใหญ่ยิ่ง เป็นไฉนท่านจึงนิ่งมิได้เป็นพยานอาตมาในกาลบัดนี้
ในขณะนั้น นางพสุนธรีวนิดาก็มิอาจดำรงกายาอยู่ได้ ด้วยโพธิสมภารานุภาพยิ่งใหญ่แห่งพระมหาสัตว์ ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพียืนประดิษฐานเฉพาะพระพุทธังกุรราช เหมือนดุจร้องประกาศกราบทูลพระกรุณาว่าข้าแต่พระมหาบุรุษราช ข้าพระบาททราบซึ่งสมภารบารมีที่พระองค์สั่งสมอบรมบำเพ็ญมา แต่น้ำทักษิโณทกตกลงชุ่มอยู่ในเกศาข้าพระพุทธเจ้านี้ ก็มากกว่ามากประมาณมิได้ ข้าพระองค์จะบิดกระแสใสสินโธทกให้ตกไหลหลั่งลง จงเห็นประจักษ์แก่นัยนาในครานี้ แลนางพระธรณีก็บิดน้ำในโมลีแห่งตน อันว่ากระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศโมลีแห่งนางพสุนธรีเป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศที่ทั้งปวงประดุจห้องมหาสาครสมุทร พระผู้เป็นเจ้ารักขิตาจารย์จึงกล่าวสารพระคาถาอรรถาธิบายความก็เหมือนนัยกล่าวแล้วแต่หลัง ครั้งนั้น หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาดมิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร อันว่าระเบียบแห่งฉัตรธวัชจามรทั้งหลาย ก็ทักทบท่าวทำลายล้มลงเกลื่อนกลาดและพระยามาราธิราชได้ทัศนาการเห็นมหัศจรรย์ ดังนั้น ก็บันดาลจิตพิศวงครั่นคร้ามขามพระเดชพระคุณเป็นอันมาก พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาสรรเสริญคุณานุภาพโพธิสัตว์
Image from Google |
อรรถาธิบายความก็ซ้ำหนหลัง ครั้งนั้นมหาปฐพีก็ป่วนปั่นปานประหนึ่งว่าจักรแห่งนายช่างหม้อบันลือศัพท์นฤนาทหวาดไหว สะเทือนสะท้าน เบื้องบนอากาศก็นฤโฆษนาการ เสียงมหาเมฆครืนครั่นปิ่มปานจะทำลายภูผาทั้งหลาย มีสัตตภัณฑ์บรรพต เป็นต้น ก็วิจลจลาการขานทรัพย์สำเนียงกึกก้องทั่วทั้งท้องจักรวาล ก็บันดาลโกลาหลทั่วสกลดังสะท้าน ปานดุจเสียงป่าไผ่อันไหม้ด้วยเปลวอัคคี ทั้งเทวทุนทุภีกลองสวรรค์ก็บันลือลั่นไปเอง เสียงครืนเครงดุจวีหิลาชอันสาดทิ้ง ถูกกระเบื้องอันเรืองโรจน์ร้อนในกองอัคนี การอัสนีบาตก็ประหารลงเปรี้ยง ๆ เพียงพื้นแผ่นปฐพีจะพังภาคดังห่าฝน ถ่านเพลิงตกต้องพสุธาดลดำเกิงแสงสว่างหมู่มารทั้งหลายต่าง ๆ ตระหนกตกประหม่า กลัวพระเดชานุภาพแพ้พ่าย แตกขจัดขจายหนีไปในทิศานุทิศทั้งปวงมิได้เศษ แลพระยามาราธิราชก็กลัวพระเดชบารมี ปราศจากที่พึ่งที่พำนักซ่อนเร้นให้พ้นภัยหฤทัย ท้อระทดสลดสังเวชจึงออกพระโอษฐ์สรรเสริญพระเดชพระคุณพระมหาบุรุษราชว่า ดังอาตมาจินตนาการอันว่าผลทานศีลสรรพบารมีแห่งพระสิทธัตถกุมารนี้ ปรากฏอาจให้บังเกิดมหิทธฤทธิ์สำเร็จกิจมโนรถปรารถนาทุกประการ มีพระกมลเบิกบานแผ่ไปด้วยประสาทโสมนัส จึงทิ้งเสียซึ่งสรรพาวุธประนมหัตถ์ทั้ง 2,000 อัญชลีกรนมัสการ ก็กล่าวสารพระคาถาว่า นโม เต ปุริสาชญญ เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปุริสาชาไนยชาติเป็นอุดมบุรุษราชในโลกนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายวันทนาการชุลีพร้อมด้วยทวารทั้ง 3 คือกายวจีมโนประณามประณตในบทบงกชยุคลบาท บุคคลผู้ใดในมนุษย์โลกธาตุกับทั้งเทวโลก ที่จะปูนเปรียบประเสริฐเสมอพระองค์คงเทียมเทียบนั้นมิได้มี พระองค์ได้ตรัสเป็นพระศรีสรรเพชญ์เสร็จแจ้งจตุราริยสัจจ์ศาสดาจารย์มีพระเดชครอบงำชนะหมู่มาร เป็นปิ่นปราชญ์ฉลาดในอนุสัยแห่งสรรพสัตวโลกจะข้ามขนนิกรเวไนย์ให้พ้นจตุรโอฆกันดารบรรลุฝั่งฟากอมฤตมหานฤพานอันเกษมสุขปราศจากสังสารทุกข์ในครั้งนี้ แลพระยาวัสวดีมารโถมนาการพระคุณพระมหาบุรุษราชด้วยจิตประสาทเลื่อมใส ผลกุศลนั้นจะตกแต่งให้ได้ตรัสแก่พระปัจเจกโพธิญาณในอนาคตกาลภายหน้า เมื่อพระยามารกล่าวสัมภาวนากถาสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ แล้วก็นิวัตตนาการสู่สกลฐานเทวพิภพ”
Image from Google |
สรุปคร่าวๆ ได้ว่า ในคืนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พญามารวัสดี และกองทัพมารเข้ารบกวนพระพุทธเจ้าอ้างเอาบัลลังก์เป็นของตน ไม่มีเทพ เทวดา กล้าเป็นประจักษ์พยานให้ ต่างหนีกายหลบเร้นไปหมดด้วยความกลัวในพญามารจนพระพุทธเจ้าต้องอ้างเอาธรณีเป็นพยาน พอพระพุทธเจ้าเปล่งวาจาเท่านั้น แผ่นดินก็จะเสทือนเลื่อนลั่นอยู่ 7 ครั้ง เสียงต้องอ้างเอาธรณีเป็นพอพระพุทธเจ้าเปล่งวาจาเท่านั้น แผ่นดินก็สะเทือนเลื่อนลั่นอยู่ 7ครั้ง เสียงดังกัมปนาท พระแม่ธรณีไม่อาจทนอยู่ได้พอนางได้ยิน ต้องปรากฏกายเป็นพยานเอก แสดงการบิดน้ำจากมวยผมเพื่อแสดงให้เห็นถึงกุศลที่ พระพุทธเจ้าได้กระทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปรากฏว่าน้ำที่กรวดลงบนพื้นแล้วแม่ธรณีรับไว้นั้นมากถึงขั้นเป็นมหาสมุทร พัดเอา เหล่าพญามารกระจัดกระจายหายไป ต้นเหตุนี้ทำให้เกิด พระพุทธรูปในปางมารวิชัยขึ้น ดังนี้แล
อีกตำนานหน้าหนึ่งของไทยก็ได้กล่าวถึงพระแม่ธรณี ว่า ถือเป็นองค์พยานเอก ดังภารกิจที่สำคัญที่สุดก็คือ เรื่องการอ้างเอาพระแม่ธรณีเป็นพยานนั้น ในประวัติศาสตร์ชาติไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็อ้างเอาธรณีผืนแผ่นดินไทยเป็นพยาน ด้วยการหลั่งน้ำทักษิโณฑกเพื่อประกาศอิสรภาพไม่เป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกต่อไป หรือเมื่อศรีปราชญ์ถูกพระยานครศรีธรรมราชประหารชีวิตก็อ้างเอาแม่ธรณีเป็นพยานจนเป็นที่มาของบทโคลงที่ว่า
Image from Google |
ธรณีนี่นี้เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง
ธรณีนี่นี้เป็นพยานความศักดิ์สิทธิ์ของแม่โลก พระแม่ธรณี เป็นเทพฝ่ายหญิงที่ผูกพันอยู่กับศาสนาพุทธ และคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งที่พระแม่ธรณีนั้นเคยเป็นเทพของศานาพราหมณ์ ฮินดูเคยกล่าวถึงมาก่อนเพียงแต่พระแม่พระองค์นี้ไม่ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นที่เอิกเกริกอย่างเมืองไทย ส่วนใหญ่ถือเอาดินก้อนหนึ่งมาเป็นเครื่องบูชาแทนพระแม่ธรณีเท่านั้น ความยิ่งใหญ่ของท่านนั้นแทบไม่ต้องบรรยายถึง เพราะเหย้าเรือน ตึกรามบ้านช่อง ห้องหอเวียงวัง พร้อมด้วยสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนั้นตั้งอยู่บนพระวรกายของท่าน เพียงแต่ท่านไม่ได้ปรากฏรูปกายเป็นเรือนร่างให้เราสัมผัสมองเห็นด้วยตาเท่านั้นเอง
Image from Google |
สรุปความเชื่ออีกลักษณะหนึ่งที่ทางศาสนาพุทธได้เชื่อตามพุทธประวัติ ที่พระแม่ธรณีได้มีพระคุณต่อพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ดังได้กล่าว มาแล้วนั้น พระแม่ธรณีมีรูปกายผุดขึ้นมาจากพื้นปฐพี เป็นองค์ที่มีภาพเป็นนิมิตรเป็นรูปสตรีที่ทางพุทธได้กำหนดพระนามของพระแม่ธรณี คือ ‘นางพสุนธรี’ ซึ่งเป็นองค์ตามลักษณะของรูปร่างตามพระแม่ธรณีบีบมวยผม จะประดิษฐานอยู่ใต้แท่นฐานพระพุทธเจ้า ‘ปางปราบมาร’ และเมื่อเกิดมหาปฐพีป่วนปั่น ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระแม่ธรณีบีบมวยผม น้ำมาท่วมท้นหมู่มาร มีทั้งฝนตกและน้ำท่วม และ ‘ปางนาคปรก’ หรือเรียกว่า ‘พระอนันตชินราช’ ซึ่งมีพญานาคได้มาแผ่ปกบังฝนและขดตัวยกชูบัลลังก์ขึ้นสูงจากน้ำที่ท่วมท้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน จึงมีรูปภาพที่ตามผนังพระอุโบสถวัดต่างๆ ตรงข้ามกับพระประธาน พระแม่ธรณี จึงเป็นเทพผู้อุปถัมภ์พระพุทธเจ้า การบูชาจึงดูได้จากภาพ พระแม่ธรณีที่ทูนบัลลังก์พระพุทธองค์สูงเหนือเศียร เป็นต้น
จากเรื่องราวของพระธรณี แสดงให้เห็นว่าเป็นเทพที่รักสงบอยู่เงียบ ๆ จึงไม่ใคร่มีเรื่องราวอะไรในโลก เฝ้าแต่เลี้ยงโลกประดุจแม่เลี้ยงลูก คอยรับรู้การทำบุญกุศลของมนุษย์โลก ด้วยการใช้มวยผมรองรับน้ำจากการกรวดน้ำเสมือนกับเป็นอรูปกะ คือไม่มีตัวตนแต่เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหรือมีผู้ร้องขอจึงจะปรากฏรูปขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง
อาจกล่าวได้ว่าพระแม่ธรณีเป็นเทวดาผู้หญิงที่มีสรีระรูปร่างใหญ่หากแต่อ่อนช้อย งดงามพระฉวีสีดำ พระพักตร์รูปไข่ มวยพระเกศายาวสลวยสีเขียวชอุ่มเหมือนกลุ่มเมฆ พระเนตรสีเหมือนดอกบัวสายคือสีน้ำเงิน พระชงฆ์เรียว พระพาหาดุจงวงไอยรา นิ้วพระหัตถ์เรียวเหมือนลำเทียน มีพระทัยเยือกเย็นไม่หวั่นไหว พระพักตร์ยิ้มละมัยอยู่เสมอ
การสักการบูชาพระแม่ธรณีเมื่อศึกษาจากบทสวดทางพุทธศาสนา จึงเป็นบทที่เกี่ยวกับการ ‘ให้’ เป็นหลักใหญ่ จน มีผู้เรียบเรียงไว้สำหรับผู้สนใจได้ใช้บูชาคู่กับพุทธคุณ ซึ่งนิยมใช้บทสวด ‘พาหุง พุทธคุณคุ้มครองโลก’ การบูชาพระแม่ธรณี ก็จะมี บทสวดพระแม่ธรณี และ คาถาพระแม่ธรณี การบูชาแม่พระธรณี มีหลายตำรา ยกมาสัก 1 ตำรา คือ
คาถาพระแม่ธรณี
ตั้งนะโม 3 จบ ว่า พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วว่า "อิติปิโสภะคะวาสะวาอะระหัง สุคะโตสวาหะ" 3 จบ แล้วสวดต่อด้วย "ตัสสาเกษีสะโต ยะถาคงคา โสตังปะวัตตันติ มาระเสนา ปฏิฐาตุง อาสักโภนโต ปะลายิงสุปาริมานานุภาเวนะมาระ เสนาปะราชิตาทิโส ทิสัง ปะลายันติ วิทังเสนติอะเสสะโต"อย่างน้อย 3จบ แต่ถ้าจะให้ดีต้อง 21จบ เพราะกำลังของ แม่พระธรณี คือ 21คาถาบทสวดพระแม่ธรณี นี้ใช้ได้ตามอธิษฐาน ทำน้ำมนต์แก้คุณเสนียด หรือถ้ามีศัตรูให้เขียนชื่อนำแม่ธรณีทับไว้ แล้วอธิษฐานให้อภัยต่อกัน สวดให้ครบ 7 วัน ฝ่ายตรงข้ามจะแพ้ภัยตัวเองไป
มีพระคาถาอีกบทหนึ่งว่า (ท่องนะโม 3 จบ)
สังขาตัง โลกังกะวิทู ตันติพุทติง นะโมพุทธายะ นะมะ พะทะ
Image from Google กรณ์มงคล KunTum Korntaekhong |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น